วันอังคารที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

เพลงเซลล์พืช เซลล์สัตว์ by Ningnong



เพลง เซลล์พืช เซลล์สัตว์
เซลล์พืช เซลล์สัตว์ (ๆ)                              ขนาดเล็กๆ (ๆ)
ส่วนประกอบนั้นหลายอย่าง (ๆ)                                        ดูดีๆมีอะไร
ส่วนห่อหุ้มเซลล์ (ๆ)                                 เยื่อหุ้มเซลล์ (ๆ)
ผนังเซลล์ในเซลล์พืช (ๆ)                                                 เซลลูโลสให้ความแข็งแรง
นิวเคลียสอยู่กลาง (ๆ)                               ศูนย์ควบคุม (ๆ)
การทำงานของเซลล์ (ๆ)                                                 โครมาทิน นิวคลีโอลัส
ไซโทพลาซึม (ๆ)                                     อยู่ในเซลล์ (ๆ)
เป็นของเหลวยังไงเธอ (ๆ)                                               ประกอบด้วยออแกแนลล์
ไมโทคอนเดรีย (ๆ)                                  แวคิวโอล (ๆ)
คลอโรพลาสต์ในเซลล์พืช (ๆ)                                           ไรโบโซม ไรโซโซม
เอนโดพลาสมิก (ๆ)                                  เรติคูลัม (ๆ)
มีทั้งเรียบและขรุขระ (ๆ)                                                สร้างไขมัน สร้างโปรตีน
กอลจิคอมเพล็กซ์ (ๆ)                               ลำเลียงสาร (ๆ)
มีประโยชน์ต่อเซลล์เรา (ๆ)                                              จำให้ดี ทุกๆคน
เซลล์พืช เซลสัตว์ (ๆ)                                ต่างกันที่ (ๆ)
คลอโรพลาสต์และผนังเซลล์ (ๆ)                                        สัตว์ไม่มี แต่พืชมี
เซลล์พืช เซลล์สัตว์ (ๆ)                              ต่างกันที่ (ๆ)
          เซลทริโอล และไลโซโซม (ๆ)                                             พืชไม่มี แต่สัตว์มี

เพลงเซลล์พืช เซลล์สัตว์

ความแตกต่างของเซลล์พืชและเซลล์สัตว์


วันพุธที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2560

Mitochondria

ไมโทคอนเดรีย (Mitochondria)
โครงสร้าง
Ø มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 0.5 – 1.0 ไมโครเมตร ยาวประมาณ 1-10 ไมโครเมตร
Ø ถูกหุ้มด้วยเยื่อหุ้ม 2 ชั้น 
Ø เยื่อหุ้มชั้นนอก (outer membrane ) มีลักษณะผิวเรียบ โมเลกุลขนาดเล็ก สามารถผ่านได้ แต่โมเลกุลขนาดใหญ่ไม่สามารถผ่านได้
Ø เยื่อหุ้มชั้นใน (inner membrane) ผนังเยื่อหุ้มจะพับเป็นรอยจีบยื่นเข้าไปข้างในเรียกว่า คริสตี(cristae) ห่อหุ้มของเหลวที่เรียกว่า แมทริกซ์ (matrix)ไว้
Ø ระหว่างเยื่อหุ้มชั้นใน และ เยื่อหุ้มชั้นนอก เรียกว่า ช่องว่างระหว่างเยื่อหุ้มเซลล์
(intermembrane space) 
Ø คริสตีและแมทริกส์มีเอนไซม์ สำหรับการหายใจระดับเซลล์ (cellular respiration)และ เป็นที่สังเคราะห์ ATP
Ø มีไรโบโซม และDNAเป็นของตัวเอง
Ø มีจำนวนเพียง 1 อัน หรือ เป็นหลาย ๆ พันในเซลล์ เช่น ในเซลล์ตับ จะมีไมโทคอนเดรียมากถึง 2,500 อันต่อเซลล์
หน้าที่
เป็นที่สำหรับการหายใจระดับเซลล์ ซึ่งการหายใจระดับเซลล์ (cellular respiration) คือ กระบวนการที่พลังงานเคมีของ คาร์โบไฮเดรตถูกเปลี่ยน เป็น ATP ซึ่งเป็นตัวให้ พลังงานภายในเซลล์ ซึ่งสามารถเขียนเป็นสมการได้ดังนี้
C6H12O6 + O2 CO2 + H2O + พลังงาน

Nucleus

นิวเคลียส (Nucleus)
โครงสร้าง
Ø มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 5 ไมโครเมตร
Ø ถูกห่อหุ้มด้วยเยื่อ 2 ชั้น ที่เรียกว่า เยื่อหุ้มนิวเคลียส (nuclear envelope) ทำให้ส่วนประกอบ ในนิวเคลียสถูกแยกออกจากส่วนของไซโทพลาซึม           
Ø บนเยื่อหุ้มนิวเคลียส มีรูขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 100 นาโนเมตร สำหรับการผ่านเข้าออกของโปรตีน และหน่วยย่อยของไรโบโซม (ribosomal subunit) 
Ø ภายในนิวเคลียสมีเส้นใยโครมาทิน ซึ่งประกอบด้วย DNA และโปรตีน 
Ø เมื่อเซลล์เตรียมที่จะแบ่งตัว เส้นใยโครมาทินจะหดสั้น ทำให้กลายเป็นแท่งหนา เรียกว่า โครโมโซม (chromosome) สามารถมองเห็นได้ภายใต้กล้องจุลทรรศน์ 
Ø โครงสร้างภายใน นิวเคลียสที่สามารถมองเห็นได้ชัดเจนที่สุด ขณะนิวเคลียสยังไม่แบ่งตัวคือ นิวคลีโอลัส (nucleolus) นิวคลีโอลัส มีรูปร่างกลมถูกย้อมสีเข้ม เป็นที่สำหรับสร้าง ไรโบโซม โดยทำการประกอบ RNA เข้ากับโปรตีน
หน้าที่
Ø เป็นที่ที่ DNA บรรจุอยู่ 
Ø ควบคุมการสังเคราะห์โปรตีน (โดยการสังเคราะห์ mRNA และ ส่งออกไปยังไซโทพลาสซึมทางรู ที่เยื่อหุ้มนิวเคลียส ( nuclear pores ) ซึ่งจะกลายเป็นตัวกำหนด คุณลักษณะของเซลล์นั้นๆ

Cell membrane

เยื่อหุ้มเซลล์ (Cell membrane)
โครงสร้างของเยื่อหุ้มเซลล์
     Ø ประกอบด้วยฟอสโฟลิพิด และโปรตีน โดยฟอสโฟลิพิดจัดเรียงตัวเป็น 2 ชั้น (bilayer) 
          หันส่วนที่ไม่ละลายน้ำเข้าหากันและหันส่วนละลายน้ำออกสู่สิ่งแวดล้อม 
Ø องค์ประกอบโปรตีนจะแทรกอยู่ในชั้น บน ส่วนกลาง หรือ ส่วนล่างของชั้นฟอสโฟลิพิด
ประกอบด้วยฟอสโฟลิพิด และโปรตีน โดยฟอสโฟลิพิดจัดเรียงตัวเป็น 2 ชั้น (bilayer) หันส่วนที่ไม่ละลายน้เข้าหากันและหัน ส่วนละลายน้ำออกสู่สิ่งแวดล้อม 
Ø องค์ประกอบโปรตีนจะแทรกอยู่ในชั้น บน ส่วนกลาง หรือ ส่วนล่างของชั้นฟอสโฟลิพิด
หน้าที่ของเยื่อหุ้มเซลล์
Ø ห่อหุ้มของเเหลวและออร์แกเนลล์ส่วนใหญ่เอาไว้
Ø ควบคุมการผ่านเข้าออกของสารต่างๆ จากสิ่งแวดล้อมเข้าสู่เซลล์ และภายในเซลล์ออกสู่ สิ่งแวดล้อม 
Ø เป็นที่ยึดจับของสารโครงร่างเซลล์ (cytoskeletal) ทำให้เซลล์คงรูปอยู่ได้ 
Ø เป็นบริเวณรับ (receptor) ของสารบางชนิดไซโทสเกเลตัน ทำให้เกิดการประสานระหว่าง แมทริกซ์  นอกเซลล์ และไซโทพลาซึมภายในเซลล์ขึ้น

Golgi body

กอลจิ บอดี (Golgi body)

กอลจิ บอดี ( golgi body) มีชื่อเรียกที่แตกต่างกัน หลายอย่าง คือ กอลจิ คอมเพล็กซ์ ( golgi complex) กอลจิ แอพพาราตัส ( golgi apparatus) ดิกไทโอโซม (dictyosome) เป็นออร์แกเนลล์ ที่ตั้งขึ้นตามชื่อของ คามิลโล กอลจิ ( camillo golgi) นักชีววิทยาชาวอิตาเลียน ในปี พ.ศ. 2423 โดยศึกษาจากเซลล์ประสาท และพบออร์แกเนนล์นี้ ต่อมาเมื่อมี กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน จึงพบและยืนยันว่าออร์แกเนลล์นี้มีจริง ในปี พ.ศ. 2499
รูปร่าง
เป็นกลุ่มถุงลมแบนขนาดใหญ่ บริเวณตรงขอบโป่งพองใหญ่ขึ้น กอลจิบอดีมักพบอยู่ใกล้กับ ER  มีในเซลล์พืชและสัตว์ชั้นสูงเกือบทุกชนิด ยกเว้น เซลล์เม็ดเลือดแดงที่โตเต็มที่แล้วของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม
หน้าที่
Ø เก็บสะสมสาร ที่เซลล์สร้างขึ้น ก่อนที่จะปล่อยออกนอกเซลล์ ซึ่งสารส่วนใหญ่ เป็นสารโปรตีน มีการจัดเรียงตัว หรือจัดสภาพใหม่ ให้เหมาะกับสภาพของการใช้งาน
Ø กอลจิ บอดี เกี่ยวข้องกับ การสร้างอะโครโซม ( acrosome) ซึ่งอยู่ที่ส่วนหัวของสเปิร์ม โดยทำหน้าที่เจาะไข่ เมื่อเกิดปฏิสนธิ ในอะโครโซมจะมีน้ำย่อย ช่วยสลายเยื่อหุ้มเซลล์ไข่
Ø เกี่ยวข้องกับ การสร้างนีมาโทซิส ( nematocyst) ของไฮดรา
Ø ทำหน้าที่เกี่ยวกับ การสร้างเมือกทั้งในพืช และสัตว์ ในพืชกอลจิบอด ทำหน้าที่สร้างเมือก บริเวณหมวกราก ( root cap) เพื่อให้รากชอนไชในดิน ได้สะดวกยิ่งขึ้น ส่วนในสัตว์ เนื้อเยื่อบุผนังลำไส ้บุกระเพาะอาหาร สร้างเยื่อเมือกฉาบบริเวณผิว เพื่อป้องกันการย่อยของเอนไซม์ ในกระเพาะอาหาร และลำไส้ย่อยตัวกระเพาะ หรือลำไส้เอง
Ø ทำหน้าที่ขับสารประกอบต่างๆ เช่น ลิปิด ฮอร์โมน เอนไซม์ที่ส่วนต่างๆ ของเซลล์ สร้างขึ้นออกทางเยื่อหุ้มเซลล์
Ø ในพืช ทำหน้าที่เกี่ยวกับ การสร้างผนังเซลล์ ขึ้นมาใหม่ ในช่วง
ปลายของการแบ่งเซลล์ เมื่อจะสร้างเซลล์เพลท ( cell plate) กอลจิบอดีจะมารวมกัน และสร้างถุงเล็กๆ มากมาย
ตัวอย่างแหล่งที่พบ
ต่อมน้ำลาย ต่อมน้ำนม อสุจิ เซลล์พืช

Vacuole

แวคิวโอล (Vacuole)
คือ ถุงบรรจุสาร เป็นออร์แกเนลล์ที่มีลักษณะเป็นถุง มีเมมเบรนที่เรียกว่า โทโนพลาสต์
(tonoplast) ห่อหุ้ม ภายในมีสารต่าง ๆ บรรรจุอยู่ โดยทั่วไปจะพบในเซลล์พืชและเซลล์สัตว์ชั้นต่ำ

ในสัตว์ชั้นสูงไม่ค่อยพบ แวคิวโอลแแบ่งออกเป็น 3 ชนิด คือ
    1.     คอนแทร็กไทล์แวคิวโอล (Contractile vacuole) 
    ทำหน้าที่รักษาสมดุลของน้ำ พบในเซลล์ อะมีบา พารามีเซียม

2.    ฟูดแวคิวโอล (food vacuole) 
บรรจุอาหารที่รับมาจากนอกเซลล์เพื่อย่อยสลายต่อไป พบใน เซลล์เม็ดเลือดขาวและสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว
3.    แซบแวคิวโอล (sap vacuole)
          พบในเซลล์พืช ตอนอายุน้อย ๆ มีจำนวนมาก แต่เมื่ออายุมากเข้าจะรวมเป็นถุงเดียวขนาดใหญ่
          มีหน้าที่สะสมสาร เช่น สารสี ไอออน น้ำตาล สารพิษ
ตัวอย่างแหล่งที่พบ
สัตว์ชั้นต่ำ : อะมีบา พารามีเซียม เซลล์พืช โพรโทซัวน้ำจืด

Centriole

เซนตริโอล (Centriole)


เป็นออร์แกแนลที่ไม่มีเยื่อหุ้มพบในเซลล์สัตว์ทุกชนิดและเซลล์ของโพรตีสท์บางชนิดเซนทริโอล มีลักษณะเป็นทรงกระบอกสองอันวางตัวในแนวตั้งฉากกัน แต่ละอันประกอบด้วยไมโครทูบูล เรียงตัวกันเป็นวงกลม 9 กลุ่มและในแต่ละกลุ่มประกอบด้วยไมโครทูบูล 3 อันตรงกลางไม่มีไมโครทูบูลอยู่ โครงสร้างของ เซนทริโอลจึงเป็นแบบ 9+0 (9+0 = 27 )
หน้าที่ของเซนตริโอล
1.    สร้างเส้นใยไมโทติก ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับการเคลื่อนที่ของโครโมโซมในการบวนการแบ่งเซลล์ของสัตว์ ในเซลล์พืช จะมีโพลาร์แคป ทำหน้าที่คล้ายเซนทริโอลในเซลล์สัตว์ไมโทติกสปินเดิลประกอบด้วยไมโครทูบูลเรียง ตัวเป็น 9+0 (9+0 = 9 ) คือมีไมโครทูบูลเพียง 9 เส้นและรอบๆ เซนทริโอลจะมีไมโทติกสปินเดิลยื่นออกมาโดยรอบมากมายซึ่งเรียกว่า แอสเทอร์
2.    ทำหน้าที่เป็นเบซัลบอดี สร้างและควบคุมการเคลื่อนไหวของซิเลีย และแฟลเจลลัม โดยเบซัลบอดีประกอบด้วย ไมโครทูบูลเรียงตัวเป็น 9+0 (9+0 = 27 ) เหมือนเซนทริโอล
3.    ให้กำเนิดซิเลียและแฟลเจลลัม ซิเลียและแฟลเจลลัมเป็นออร์แกแนลที่มีเยื่อหุ้มและมีโครงสร้างแตกต่างจากเซนทริโอล เพราะประกอบด้วยไมโครทูบูลเรียงตัวเป็นวง 9 กลุ่ม แต่ละกลุ่มประกอบด้วยไมโครทูบูล 2 อัน และครงกลางมีไมโครทูบุลอิสระอีก 2 อันดังนั้นโครงสร้างของซิเลียและแฟลเจลลัมจึงเป็น 9+2 (9+2 = 20 ) ซิเลียต่างจากแฟลเจลลัมตรงที่ขนาดโดยทั่วไปซิเลียมีขนาดเล็กกว่าแฟลเจลลัมและจำนวนซิเลียต่อเซลล์มักมีจำนวนมากกว่าแฟลเจลลัม
ตัวอย่างแหล่งที่พบ
พบในเซลล์สัตว์เท่านั้น ไม่พบในเซลล์พืชและเซลล์ฟังไจ