กอลจิ บอดี (Golgi body)
กอลจิ บอดี ( golgi body) มีชื่อเรียกที่แตกต่างกัน หลายอย่าง คือ กอลจิ คอมเพล็กซ์ ( golgi
complex) กอลจิ แอพพาราตัส ( golgi apparatus) ดิกไทโอโซม (dictyosome) เป็นออร์แกเนลล์
ที่ตั้งขึ้นตามชื่อของ คามิลโล กอลจิ ( camillo golgi) นักชีววิทยาชาวอิตาเลียน
ในปี พ.ศ. 2423 โดยศึกษาจากเซลล์ประสาท และพบออร์แกเนนล์นี้
ต่อมาเมื่อมี กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน จึงพบและยืนยันว่าออร์แกเนลล์นี้มีจริง
ในปี พ.ศ. 2499
รูปร่าง
เป็นกลุ่มถุงลมแบนขนาดใหญ่
บริเวณตรงขอบโป่งพองใหญ่ขึ้น กอลจิบอดีมักพบอยู่ใกล้กับ ER
มีในเซลล์พืชและสัตว์ชั้นสูงเกือบทุกชนิด ยกเว้น
เซลล์เม็ดเลือดแดงที่โตเต็มที่แล้วของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม
หน้าที่
Ø เก็บสะสมสาร
ที่เซลล์สร้างขึ้น ก่อนที่จะปล่อยออกนอกเซลล์ ซึ่งสารส่วนใหญ่ เป็นสารโปรตีน
มีการจัดเรียงตัว หรือจัดสภาพใหม่ ให้เหมาะกับสภาพของการใช้งาน
Ø กอลจิ
บอดี เกี่ยวข้องกับ การสร้างอะโครโซม ( acrosome) ซึ่งอยู่ที่ส่วนหัวของสเปิร์ม
โดยทำหน้าที่เจาะไข่ เมื่อเกิดปฏิสนธิ ในอะโครโซมจะมีน้ำย่อย
ช่วยสลายเยื่อหุ้มเซลล์ไข่
Ø เกี่ยวข้องกับ
การสร้างนีมาโทซิส ( nematocyst)
ของไฮดรา
Ø ทำหน้าที่เกี่ยวกับ
การสร้างเมือกทั้งในพืช และสัตว์ ในพืชกอลจิบอด ทำหน้าที่สร้างเมือก บริเวณหมวกราก
( root
cap) เพื่อให้รากชอนไชในดิน ได้สะดวกยิ่งขึ้น ส่วนในสัตว์
เนื้อเยื่อบุผนังลำไส ้บุกระเพาะอาหาร สร้างเยื่อเมือกฉาบบริเวณผิว
เพื่อป้องกันการย่อยของเอนไซม์ ในกระเพาะอาหาร และลำไส้ย่อยตัวกระเพาะ หรือลำไส้เอง
Ø ทำหน้าที่ขับสารประกอบต่างๆ
เช่น ลิปิด ฮอร์โมน เอนไซม์ที่ส่วนต่างๆ ของเซลล์ สร้างขึ้นออกทางเยื่อหุ้มเซลล์
Ø ในพืช
ทำหน้าที่เกี่ยวกับ การสร้างผนังเซลล์ ขึ้นมาใหม่ ในช่วง
ปลายของการแบ่งเซลล์ เมื่อจะสร้างเซลล์เพลท ( cell plate) กอลจิบอดีจะมารวมกัน และสร้างถุงเล็กๆ มากมาย
ปลายของการแบ่งเซลล์ เมื่อจะสร้างเซลล์เพลท ( cell plate) กอลจิบอดีจะมารวมกัน และสร้างถุงเล็กๆ มากมาย
ตัวอย่างแหล่งที่พบ
ต่อมน้ำลาย
ต่อมน้ำนม อสุจิ เซลล์พืช
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น