วันอังคารที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

เพลงเซลล์พืช เซลล์สัตว์ by Ningnong



เพลง เซลล์พืช เซลล์สัตว์
เซลล์พืช เซลล์สัตว์ (ๆ)                              ขนาดเล็กๆ (ๆ)
ส่วนประกอบนั้นหลายอย่าง (ๆ)                                        ดูดีๆมีอะไร
ส่วนห่อหุ้มเซลล์ (ๆ)                                 เยื่อหุ้มเซลล์ (ๆ)
ผนังเซลล์ในเซลล์พืช (ๆ)                                                 เซลลูโลสให้ความแข็งแรง
นิวเคลียสอยู่กลาง (ๆ)                               ศูนย์ควบคุม (ๆ)
การทำงานของเซลล์ (ๆ)                                                 โครมาทิน นิวคลีโอลัส
ไซโทพลาซึม (ๆ)                                     อยู่ในเซลล์ (ๆ)
เป็นของเหลวยังไงเธอ (ๆ)                                               ประกอบด้วยออแกแนลล์
ไมโทคอนเดรีย (ๆ)                                  แวคิวโอล (ๆ)
คลอโรพลาสต์ในเซลล์พืช (ๆ)                                           ไรโบโซม ไรโซโซม
เอนโดพลาสมิก (ๆ)                                  เรติคูลัม (ๆ)
มีทั้งเรียบและขรุขระ (ๆ)                                                สร้างไขมัน สร้างโปรตีน
กอลจิคอมเพล็กซ์ (ๆ)                               ลำเลียงสาร (ๆ)
มีประโยชน์ต่อเซลล์เรา (ๆ)                                              จำให้ดี ทุกๆคน
เซลล์พืช เซลสัตว์ (ๆ)                                ต่างกันที่ (ๆ)
คลอโรพลาสต์และผนังเซลล์ (ๆ)                                        สัตว์ไม่มี แต่พืชมี
เซลล์พืช เซลล์สัตว์ (ๆ)                              ต่างกันที่ (ๆ)
          เซลทริโอล และไลโซโซม (ๆ)                                             พืชไม่มี แต่สัตว์มี

เพลงเซลล์พืช เซลล์สัตว์

ความแตกต่างของเซลล์พืชและเซลล์สัตว์


วันพุธที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2560

Mitochondria

ไมโทคอนเดรีย (Mitochondria)
โครงสร้าง
Ø มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 0.5 – 1.0 ไมโครเมตร ยาวประมาณ 1-10 ไมโครเมตร
Ø ถูกหุ้มด้วยเยื่อหุ้ม 2 ชั้น 
Ø เยื่อหุ้มชั้นนอก (outer membrane ) มีลักษณะผิวเรียบ โมเลกุลขนาดเล็ก สามารถผ่านได้ แต่โมเลกุลขนาดใหญ่ไม่สามารถผ่านได้
Ø เยื่อหุ้มชั้นใน (inner membrane) ผนังเยื่อหุ้มจะพับเป็นรอยจีบยื่นเข้าไปข้างในเรียกว่า คริสตี(cristae) ห่อหุ้มของเหลวที่เรียกว่า แมทริกซ์ (matrix)ไว้
Ø ระหว่างเยื่อหุ้มชั้นใน และ เยื่อหุ้มชั้นนอก เรียกว่า ช่องว่างระหว่างเยื่อหุ้มเซลล์
(intermembrane space) 
Ø คริสตีและแมทริกส์มีเอนไซม์ สำหรับการหายใจระดับเซลล์ (cellular respiration)และ เป็นที่สังเคราะห์ ATP
Ø มีไรโบโซม และDNAเป็นของตัวเอง
Ø มีจำนวนเพียง 1 อัน หรือ เป็นหลาย ๆ พันในเซลล์ เช่น ในเซลล์ตับ จะมีไมโทคอนเดรียมากถึง 2,500 อันต่อเซลล์
หน้าที่
เป็นที่สำหรับการหายใจระดับเซลล์ ซึ่งการหายใจระดับเซลล์ (cellular respiration) คือ กระบวนการที่พลังงานเคมีของ คาร์โบไฮเดรตถูกเปลี่ยน เป็น ATP ซึ่งเป็นตัวให้ พลังงานภายในเซลล์ ซึ่งสามารถเขียนเป็นสมการได้ดังนี้
C6H12O6 + O2 CO2 + H2O + พลังงาน

Nucleus

นิวเคลียส (Nucleus)
โครงสร้าง
Ø มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 5 ไมโครเมตร
Ø ถูกห่อหุ้มด้วยเยื่อ 2 ชั้น ที่เรียกว่า เยื่อหุ้มนิวเคลียส (nuclear envelope) ทำให้ส่วนประกอบ ในนิวเคลียสถูกแยกออกจากส่วนของไซโทพลาซึม           
Ø บนเยื่อหุ้มนิวเคลียส มีรูขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 100 นาโนเมตร สำหรับการผ่านเข้าออกของโปรตีน และหน่วยย่อยของไรโบโซม (ribosomal subunit) 
Ø ภายในนิวเคลียสมีเส้นใยโครมาทิน ซึ่งประกอบด้วย DNA และโปรตีน 
Ø เมื่อเซลล์เตรียมที่จะแบ่งตัว เส้นใยโครมาทินจะหดสั้น ทำให้กลายเป็นแท่งหนา เรียกว่า โครโมโซม (chromosome) สามารถมองเห็นได้ภายใต้กล้องจุลทรรศน์ 
Ø โครงสร้างภายใน นิวเคลียสที่สามารถมองเห็นได้ชัดเจนที่สุด ขณะนิวเคลียสยังไม่แบ่งตัวคือ นิวคลีโอลัส (nucleolus) นิวคลีโอลัส มีรูปร่างกลมถูกย้อมสีเข้ม เป็นที่สำหรับสร้าง ไรโบโซม โดยทำการประกอบ RNA เข้ากับโปรตีน
หน้าที่
Ø เป็นที่ที่ DNA บรรจุอยู่ 
Ø ควบคุมการสังเคราะห์โปรตีน (โดยการสังเคราะห์ mRNA และ ส่งออกไปยังไซโทพลาสซึมทางรู ที่เยื่อหุ้มนิวเคลียส ( nuclear pores ) ซึ่งจะกลายเป็นตัวกำหนด คุณลักษณะของเซลล์นั้นๆ

Cell membrane

เยื่อหุ้มเซลล์ (Cell membrane)
โครงสร้างของเยื่อหุ้มเซลล์
     Ø ประกอบด้วยฟอสโฟลิพิด และโปรตีน โดยฟอสโฟลิพิดจัดเรียงตัวเป็น 2 ชั้น (bilayer) 
          หันส่วนที่ไม่ละลายน้ำเข้าหากันและหันส่วนละลายน้ำออกสู่สิ่งแวดล้อม 
Ø องค์ประกอบโปรตีนจะแทรกอยู่ในชั้น บน ส่วนกลาง หรือ ส่วนล่างของชั้นฟอสโฟลิพิด
ประกอบด้วยฟอสโฟลิพิด และโปรตีน โดยฟอสโฟลิพิดจัดเรียงตัวเป็น 2 ชั้น (bilayer) หันส่วนที่ไม่ละลายน้เข้าหากันและหัน ส่วนละลายน้ำออกสู่สิ่งแวดล้อม 
Ø องค์ประกอบโปรตีนจะแทรกอยู่ในชั้น บน ส่วนกลาง หรือ ส่วนล่างของชั้นฟอสโฟลิพิด
หน้าที่ของเยื่อหุ้มเซลล์
Ø ห่อหุ้มของเเหลวและออร์แกเนลล์ส่วนใหญ่เอาไว้
Ø ควบคุมการผ่านเข้าออกของสารต่างๆ จากสิ่งแวดล้อมเข้าสู่เซลล์ และภายในเซลล์ออกสู่ สิ่งแวดล้อม 
Ø เป็นที่ยึดจับของสารโครงร่างเซลล์ (cytoskeletal) ทำให้เซลล์คงรูปอยู่ได้ 
Ø เป็นบริเวณรับ (receptor) ของสารบางชนิดไซโทสเกเลตัน ทำให้เกิดการประสานระหว่าง แมทริกซ์  นอกเซลล์ และไซโทพลาซึมภายในเซลล์ขึ้น

Golgi body

กอลจิ บอดี (Golgi body)

กอลจิ บอดี ( golgi body) มีชื่อเรียกที่แตกต่างกัน หลายอย่าง คือ กอลจิ คอมเพล็กซ์ ( golgi complex) กอลจิ แอพพาราตัส ( golgi apparatus) ดิกไทโอโซม (dictyosome) เป็นออร์แกเนลล์ ที่ตั้งขึ้นตามชื่อของ คามิลโล กอลจิ ( camillo golgi) นักชีววิทยาชาวอิตาเลียน ในปี พ.ศ. 2423 โดยศึกษาจากเซลล์ประสาท และพบออร์แกเนนล์นี้ ต่อมาเมื่อมี กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน จึงพบและยืนยันว่าออร์แกเนลล์นี้มีจริง ในปี พ.ศ. 2499
รูปร่าง
เป็นกลุ่มถุงลมแบนขนาดใหญ่ บริเวณตรงขอบโป่งพองใหญ่ขึ้น กอลจิบอดีมักพบอยู่ใกล้กับ ER  มีในเซลล์พืชและสัตว์ชั้นสูงเกือบทุกชนิด ยกเว้น เซลล์เม็ดเลือดแดงที่โตเต็มที่แล้วของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม
หน้าที่
Ø เก็บสะสมสาร ที่เซลล์สร้างขึ้น ก่อนที่จะปล่อยออกนอกเซลล์ ซึ่งสารส่วนใหญ่ เป็นสารโปรตีน มีการจัดเรียงตัว หรือจัดสภาพใหม่ ให้เหมาะกับสภาพของการใช้งาน
Ø กอลจิ บอดี เกี่ยวข้องกับ การสร้างอะโครโซม ( acrosome) ซึ่งอยู่ที่ส่วนหัวของสเปิร์ม โดยทำหน้าที่เจาะไข่ เมื่อเกิดปฏิสนธิ ในอะโครโซมจะมีน้ำย่อย ช่วยสลายเยื่อหุ้มเซลล์ไข่
Ø เกี่ยวข้องกับ การสร้างนีมาโทซิส ( nematocyst) ของไฮดรา
Ø ทำหน้าที่เกี่ยวกับ การสร้างเมือกทั้งในพืช และสัตว์ ในพืชกอลจิบอด ทำหน้าที่สร้างเมือก บริเวณหมวกราก ( root cap) เพื่อให้รากชอนไชในดิน ได้สะดวกยิ่งขึ้น ส่วนในสัตว์ เนื้อเยื่อบุผนังลำไส ้บุกระเพาะอาหาร สร้างเยื่อเมือกฉาบบริเวณผิว เพื่อป้องกันการย่อยของเอนไซม์ ในกระเพาะอาหาร และลำไส้ย่อยตัวกระเพาะ หรือลำไส้เอง
Ø ทำหน้าที่ขับสารประกอบต่างๆ เช่น ลิปิด ฮอร์โมน เอนไซม์ที่ส่วนต่างๆ ของเซลล์ สร้างขึ้นออกทางเยื่อหุ้มเซลล์
Ø ในพืช ทำหน้าที่เกี่ยวกับ การสร้างผนังเซลล์ ขึ้นมาใหม่ ในช่วง
ปลายของการแบ่งเซลล์ เมื่อจะสร้างเซลล์เพลท ( cell plate) กอลจิบอดีจะมารวมกัน และสร้างถุงเล็กๆ มากมาย
ตัวอย่างแหล่งที่พบ
ต่อมน้ำลาย ต่อมน้ำนม อสุจิ เซลล์พืช

Vacuole

แวคิวโอล (Vacuole)
คือ ถุงบรรจุสาร เป็นออร์แกเนลล์ที่มีลักษณะเป็นถุง มีเมมเบรนที่เรียกว่า โทโนพลาสต์
(tonoplast) ห่อหุ้ม ภายในมีสารต่าง ๆ บรรรจุอยู่ โดยทั่วไปจะพบในเซลล์พืชและเซลล์สัตว์ชั้นต่ำ

ในสัตว์ชั้นสูงไม่ค่อยพบ แวคิวโอลแแบ่งออกเป็น 3 ชนิด คือ
    1.     คอนแทร็กไทล์แวคิวโอล (Contractile vacuole) 
    ทำหน้าที่รักษาสมดุลของน้ำ พบในเซลล์ อะมีบา พารามีเซียม

2.    ฟูดแวคิวโอล (food vacuole) 
บรรจุอาหารที่รับมาจากนอกเซลล์เพื่อย่อยสลายต่อไป พบใน เซลล์เม็ดเลือดขาวและสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว
3.    แซบแวคิวโอล (sap vacuole)
          พบในเซลล์พืช ตอนอายุน้อย ๆ มีจำนวนมาก แต่เมื่ออายุมากเข้าจะรวมเป็นถุงเดียวขนาดใหญ่
          มีหน้าที่สะสมสาร เช่น สารสี ไอออน น้ำตาล สารพิษ
ตัวอย่างแหล่งที่พบ
สัตว์ชั้นต่ำ : อะมีบา พารามีเซียม เซลล์พืช โพรโทซัวน้ำจืด

Centriole

เซนตริโอล (Centriole)


เป็นออร์แกแนลที่ไม่มีเยื่อหุ้มพบในเซลล์สัตว์ทุกชนิดและเซลล์ของโพรตีสท์บางชนิดเซนทริโอล มีลักษณะเป็นทรงกระบอกสองอันวางตัวในแนวตั้งฉากกัน แต่ละอันประกอบด้วยไมโครทูบูล เรียงตัวกันเป็นวงกลม 9 กลุ่มและในแต่ละกลุ่มประกอบด้วยไมโครทูบูล 3 อันตรงกลางไม่มีไมโครทูบูลอยู่ โครงสร้างของ เซนทริโอลจึงเป็นแบบ 9+0 (9+0 = 27 )
หน้าที่ของเซนตริโอล
1.    สร้างเส้นใยไมโทติก ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับการเคลื่อนที่ของโครโมโซมในการบวนการแบ่งเซลล์ของสัตว์ ในเซลล์พืช จะมีโพลาร์แคป ทำหน้าที่คล้ายเซนทริโอลในเซลล์สัตว์ไมโทติกสปินเดิลประกอบด้วยไมโครทูบูลเรียง ตัวเป็น 9+0 (9+0 = 9 ) คือมีไมโครทูบูลเพียง 9 เส้นและรอบๆ เซนทริโอลจะมีไมโทติกสปินเดิลยื่นออกมาโดยรอบมากมายซึ่งเรียกว่า แอสเทอร์
2.    ทำหน้าที่เป็นเบซัลบอดี สร้างและควบคุมการเคลื่อนไหวของซิเลีย และแฟลเจลลัม โดยเบซัลบอดีประกอบด้วย ไมโครทูบูลเรียงตัวเป็น 9+0 (9+0 = 27 ) เหมือนเซนทริโอล
3.    ให้กำเนิดซิเลียและแฟลเจลลัม ซิเลียและแฟลเจลลัมเป็นออร์แกแนลที่มีเยื่อหุ้มและมีโครงสร้างแตกต่างจากเซนทริโอล เพราะประกอบด้วยไมโครทูบูลเรียงตัวเป็นวง 9 กลุ่ม แต่ละกลุ่มประกอบด้วยไมโครทูบูล 2 อัน และครงกลางมีไมโครทูบุลอิสระอีก 2 อันดังนั้นโครงสร้างของซิเลียและแฟลเจลลัมจึงเป็น 9+2 (9+2 = 20 ) ซิเลียต่างจากแฟลเจลลัมตรงที่ขนาดโดยทั่วไปซิเลียมีขนาดเล็กกว่าแฟลเจลลัมและจำนวนซิเลียต่อเซลล์มักมีจำนวนมากกว่าแฟลเจลลัม
ตัวอย่างแหล่งที่พบ
พบในเซลล์สัตว์เท่านั้น ไม่พบในเซลล์พืชและเซลล์ฟังไจ

Microtubule

ไมโครทูบูล (Microtubule)
โครงสร้างไมโครทูบูล
Ø ไมโครทูบูล (microtubule) เป็นแท่งกลวง ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 25 นาโนเมตร ยาว 200 นาโนเมตร – 25 นาโนเมตร
Ø ประกอบด้วยโปรตีนก้อนกลม (globular protein) ชื่อว่าทูบูลิน (tubulin) ซึ่งมี 2 หน่วยย่อย คือ แอลฟาทิวบูลิน (alpha – tubulin) และบีตาทูบูลิน (beta – tubulin)
Ø เซนโทรโซม (centrosome) เป็นศูนย์ควบคุมการประกอบไมโครทูบูล ซึ่งอยู่ใกล้ๆ กับนิวเคลียส ภายในบริเวณ เซนโทรโซมจะพบเซนทริโอล จำนวน 1 คู่ เซนทริโอล 1 อัน มีรูปร่างเป็นทรงกระบอก ประกอบด้วยท่อไมโครทูบูล 3 ท่อ จำนวน 9 ชุด มาเรียง ตัวกันเป็นวงแหวน ตรงกลางไม่มีท่อทูบูลิน เรียกโครงสร้างแบบนี้ว่า 9 + 0 
Ø เซนทริโอล คู่นี้ จะวางตั้งฉากกันและเกี่ยวข้องกับการแยกโครโมโซมระหว่างการ แบ่งตัวของเซลล์
Ø เซนโทรโซม ในเซลล์พืชส่วนใหญ่ไม่มีเซนทริโอล
หน้าที่ของไมโครทูบูล
1.    ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนที่ของซีเลียและแฟลกเจลา โดยกลไกการเลื่อนของไมโครทูบูล โดยโปรตีนไดเนอินที่จับอยู่ที่บริเวณไมโครทูบูลของซีเลียและแฟลกเจลา
2.    ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการแบ่งเซลล์ โดยเป็นองค์ประกอบของเส้นใยสปินเดิล (spindle fiber)
ตัวอย่างแหล่งที่พบ
ผิว ผม ขน เขา เล็บ นอ

Cytoplasm

ไซโตพลาสซึม (Cytoplasm)
ไซโตพลาสซึม เป็นส่วนที่อยู่ในเซลล์ทั้งหมด ยกเว้นนิวเคลียส ไซโตพลาสซึม เป็นของเหลว มีความข้นโปร่งแสง ประกอบด้วย น้ำประมาณ 75 - 90 เปอร์เซ็นต์ ที่เหลือเป็นสารชนิดอื่น เช่น โปรตีน คาร์โบไฮเดรท ไขมัน และสารอนินทรีย์ที่อยู่ในรูปสารละลาย ส่วนสารอินทรีย์ มักอยู่ในรูปของคอลลอยด์ (colloid) 
หน้าที่ของไซโตพลาสซึม ได้แก่ 
Ø เป็นบริเวณที่เกิดปฏิกิริยาเคมีของเซลล์ 
Ø สลายวัตถุดิบเพื่อให้ได้พลังงานและสิ่งที่จำเป็นสำหรับเซลล์ 
Ø สังเคราะห์สารที่จำเป็นสำหรับเซลล์ 
Ø เป็นที่เก็บสะสมวัตถุดิบสำหรับเซลล์ 
Ø เกี่ยวข้องกับกระบวนการขับถ่ายของเสียของเซลล์

Lysosome

ไลโซโซม (Lysosome)
โครงสร้าง
เป็นถุงที่บรรจุ เอนไซม์ไฮโดรไลซ์ (hydrolytic enzyme) สำหรับย่อยโปรตีน ไขมัน พอลิแซคคาไรด์ และกรดนิวคลีอิก- pH ใน ไลโซโซม เท่ากับ 5 ซึ่ง เอนไซม์ไฮโดรไลซ์ ทำงานได้ดีที่สุดซึ่ง pH ในไซโทพลาสซึมเท่ากับ 7 - เอนไซม์ไฮโดรไลติก สร้างใน ER และส่งมายังไลโซโซมโดยผ่านทางกอลจิแอพพาราตัส


หน้าที่
1.       การย่อยสลายภายในเซลล์ (intracellular digestion) 
Ø การโอบกลืน(phagocytosis) เช่น การย่อยเซลล์แบคทีเรียที่ถูกจับกินโดยเม็ดเลือดขาว 
Ø การย่อยสลาย แมคโครโมเลกุล (macromolecule)
Ø การทำลาย ออร์แกเนลล์ ที่เสื่อมสภาพในเซลล์ (autophagy) 
2.     มีหน้าที่ใน กระบวนการทำลายเซลล์ที่หมดอายุหรือหน้าที่ (programmed destruction) เช่นในการเปลี่ยนรูปร่างของลูกอ๊อด เป็นกบ โดยไลโซโซมในเซลล์หาง ลูกอ๊อด จะทำลายส่วนหางให้หายไปขณะ เจริญเติบโตเป็นกบหรือ การหายไป ของพังผืด ระหว่างนิ้วมือของมนุษย์

Chloroplast

คลอโรพลาสต์ (Chloroplasts)
โครงสร้าง
Ø พบในเซลล์พืช สาหร่าย และ ไซยาโนแบคทีเรีย (cyanobacteria)
Ø มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 4-6 ไมโครเมตร ยาวประมาณ 1-5 ไมโครเมตร
Ø คลอโรพลาสต์ เป็น พลาสติด ชนิดหนึ่ง พลาสติด เป็นออร์แกเนลล์ ที่พบในพืช ซึ่งได้แก่ 
1.       อะไมโลพลาสต์ (amyloplast) เป็นพลาสติด ที่ไม่มีสี พบที่รากและส่วนหัวของพืช ทำหน้าที่เก็บสะสมแป้ง
2.       โครโมพลาสต์ (chromoplast) มีรงควัตถุ สีแดง และสีส้มบรรจุอยู่ให้สีแดงและสีส้ม แก่ผลไม้ ดอกไม้ และใบไม้ในฤดูใบไม้ร่วง 
3.       คลอโรพลาสต์ (chloroplast) มี รงควัตถุ สีเขียวเรียกว่า คลอโรฟิลล์ (chlorophyll) มีเอนไซม์ และโมเลกุลอื่น ๆ ที่จำเป็นสำหรับการสังเคราะห์ด้วยแสง พบในใบและส่วน อื่น ๆ ของพืชที่มีสีเขียว
Ø มีเยื่อหุ้ม 2 ชั้น คือ เยื่อหุ้มชั้นนอกและเยื่อหุ้มชั้นใน
Ø ภายในคลอโรพลาสต์ ประกอบด้วย ถุงแบน ๆ ที่เกิดจากเยื่อหุ้มชั้นในเรียกว่า ไทลาคอยด์ (thylakoid) วางซ้อนทับกันอยู่เป็นกอง ๆ ซึ่งแต่ละกอง ของไทลาคอยด์ เรียกว่า กรานัม (granum)ของเหลวที่บรรจุอยู่รอบ ๆ ไทลาคอยด์ เรียกว่าสโตรมา (stroma) ซึ่งจะมี DNA ไรโบโซมของคลอโรพลาสต์ และเอนไซม์ที่ใช้ในการ สังเคราะห์คาร์โบไฮเดรต
Ø คลอโรฟิลล์ อยู่ที่ เยื่อหุ้มไทลาคอยด์ (thylakoid membrane)
หน้าที่
Ø เป็นที่เกิดกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง (photosynthesis) 
Ø การสังเคราะห์ด้วยแสง คือ กระบวนการที่พลังงานแสงถูกเปลี่ยนเป็นพลังงานเคมี
คาร์โบไฮเดรต โดยสามารถเขียนเป็นสมการได้ดังนี้


พลังงานแสง + CO2+ H2O C6H12O6 + O2


Cell wall

ผนังเซลล์ (Cell Wall) 
เป็นส่วนที่อยู่ภายนอกเยื่อหุ้มเซลล์ประกอบด้วยคาร์โบไฮเดรตเป็นจำนวนมาก เมื่อสร้างใหม่ๆ ผนังเซลล์จะมีลักษณะบาง ต่อมาจะหนาขึ้นเพราะมีการสะสมสารต่างๆ โดยชั้นใหม่ที่เกิดจะติดกับส่วนของเยื่อหุ้มเซลล์ ทำให้ชั้นเก่าถูกดันห่างออกจากโปรโตพลาสต์ ชั้นใหม่นี้เรียกว่าผนังเซลล์ชั้นที่สอง (Secondary Cell Wall) ซึ่งจะมีความหนาไม่เท่ากันตลอด ทำให้เกิดลักษณะที่เป็นรูเปิด เพื่อให้สารต่างๆ เคลื่อนผ่านได้เรียกว่า พิท (Pit)                                                                                 ผนังเซลล์มีส่วนประกอบทางเคมีที่สำคัญ คือ
1.    ไมโครไฟบริลลา โพลีแซคคาไรด์  (Microfibrillar Polysaccharides)  ซึ่งกลุ่มที่พบมากที่สุด  คือ เซลลูโลส (Cellulose)  และไคติน (Chitin)
Ø เซลลูโลส เป็นลูกโซ่ของ ดี-กลูโคส (D-glucose) ซึ่งเรียงตัวเกาะกันแบบ b-1,4-glycosidic bond ซึ่งมีความยาวต่างกันไป แต่โดยปกติจะมีกลูโคสอยู่ประมาณ 2,000-14,000 หน่วย ยาวประมาณ 1-7 mm และจับกับลูกโซ่ข้างเคียงด้วยแขนแบบไฮโดรเจน (Hydrogen bond)   ทำให้เกิดเป็นลักษณะที่เรียกว่า ไฟบริล (Fibrils)  ซึ่งหนาไม่เกิน 250o A และยาวหลายไมโครเมตร แต่ละไฟบริลจะเรียงต่อกันด้วยไฮโดรเจนบอนด์ ซึ่งทำให้เกิดการติดกันขึ้นมา เซลลูโลสจะฝังตัวอยู่ในของเหลวที่มีรูปร่างไม่แน่นอนเรียกแมทริกซ์  โพลีแซคคาไรด์ ส่วนของไฟบริลจะทนต่อการเข้าทำลายของเชื้อจุลินทรีย์และสารเคมี  ผนังเซลล์จึงมีหน้าที่ป้องกันอันตรายและเพิ่มความแข็งแรงให้กับเซลล์ พืชในพืชชั้นต่ำที่มีเซลลูโลสน้อย เช่น เชื้อราจะมีไคติน (Chitin) ซึ่งจะกล่าวถึงต่อไป
Ø ไคติน เป็นส่วนประกอบที่พบมากในผนังเซลล์ของเชื้อรา และเป็นส่วนประกอบของสัตว์ที่ไม่มีกระดูกสันหลัง โมเลกุลของไคตินจะเรียงต่อกันยาว โดยไม่แตกสาขา สารประกอบทางเคมีเป็นพวก N-acetyl-D-glucosamine โดยเกาะกันแบบ b-1,4-glycosidic bond ทำให้เกิดเป็นไฟบริลเช่นเดียวกับเซลลูโลส
2.    แมทริกซ์ โพลีแซคคาไรด์ (Matrix Polysaccharides) ส่วนนี้จะประกอบด้วย 2 ส่วนใหญ่ๆ คือ  เฮมิเซลลูโลส (Hemicellulose) และเพคติน (Pectin) ซึ่งแยกออกจากกันโดยคุณสมบัติในการละลายน้ำเพราะเพคตินนั้นสามารถแยกได้โดยการต้มกับน้ำเป็นเวลานาน แต่เฮมิเซลลูโลสนั้นต้องแยกโดยใช้โปแตสเซียมไฮดรอกไซด์ แมทริกซ์ โพลีแซคคาไรด์มีลักษณะเป็นของเหลวที่มีรูปร่างไม่แน่นอน ทำหน้าที่หุ้มห่อส่วนของไมโครไฟบริลลา โพลีแซคคาไรด์
Ø เฮมิเซลลูโลส ชื่อของเฮมิเซลลูโลสนั้นใช้เรียกเมื่อพบโพลีแซคคาไรด์ชนิดนี้ใหม่ๆ ซึ่งเข้าใจว่าเป็นสารเริ่มต้นที่จะทำให้เกิดเซลลูโลส ซึ่งในปัจจุบันพบว่าไม่จริงเฮมิเซลลูโลสประกอบด้วยไซแลนซ์ (Xylans) ซึ่งมีน้ำตาลไซโลส (Xylose) แมนแนน (Mannans) ซึ่งมีน้ำตาลแมนโนส (Mannose) และกาแลกแตน (Galactans) ซึ่งประกอบด้วยน้ำตาลกาแลคโตส (Galactose)
นอกจากนั้นยังมีกลูโคแมนแนน ซึ่งประกอบด้วยน้ำตาลกลูโคสและน้ำตาลแมนโนส ไซโลกลูแคน ประกอบด้วยน้ำตาลไซโลสและน้ำตาลกลูโคส และแคลโลส (Callose) จัดเป็น เฮมิเซลลูโลสซึ่งประกอบด้วยน้ำตาลกลูโคสที่เกาะกันแบบ  b-1,3-glycosidic bond ซึ่งจะพบบริเวณปลายเซลล์ของท่ออาหาร (Sieve tubes)
Ø เพคติน  ทำหน้าที่เชื่อมให้เซลลูโลสติดกัน เป็นส่วนประกอบที่มีมากในส่วนมิดเดิลลาเมลลา (Middle lamella) นอกจากนั้นเพคตินยังเกิดในน้ำผลไม้ต่างๆ  สารเคมีที่พบในเพคตินคือกรดแอลฟา ดี กาแลคตูโรนิค (µ-D-galacturonic acid) อะราบิแนนส์ (Arabinans) และกาแลคแตนส์ (Galactans)
3.    ลิกนิน (Lignins) การเกิดลิกนินในพืชมักจะควบคู่ไปกับเนื้อเยื่อที่ทำหน้าที่ค้ำจุน และท่อน้ำท่ออาหาร จะพบในผนังเซลล์ทุติยภูมิ ซึ่งตายแล้ว การเกิดลิกนินทำให้เซลล์แข็งแรง ทำให้ไฟบริลไม่เคลื่อนที่และป้องกันอันตรายให้ไฟบริลด้วย อาจจะพบลิกนินในเนื้อผลไม้บางชนิด เช่น ฝรั่งและละมุด ลิกนินประกอบด้วยสารเคมีที่มีน้ำหนักโมเลกุลสูง พวกฟีโนลิคส์ (Phenolics) ลิกนินทำให้เซลล์เกิดความแข็งแรงมากขึ้นและต้านทานต่อสารเคมีและการกระทบกระแทกต่างๆ
4.    โปรตีน ในการพบโปรตีนในผนังเซลล์นั้นระยะแรกเข้าใจว่าเกิดจากการปนเปื้อนมาจากส่วนของไซโตพลาสต์ (Cytoplasm)   แต่ในปัจจุบันได้มีการสรุปแน่ชัดแล้วว่า ในเซลล์ที่กำลังเจริญเติบโตจะมีโปรตีนในผนังเซลล์ ประมาณ 5-10 เปอร์เซ็นต์   ซึ่งประกอบด้วยเอนไซม์พวกไฮโดรเลส (Hydrolases) กลูคาเนส (Glucanase) เพคติน เมทธิลเอสเตอเรส (Pectin Methylesterase) และเอทีพีเอส (ATPase)  เป็นต้น นอกจากนั้นยังมีโปรตีนที่เป็นโครงสร้างเป็นพวกไกลโคโปรตีน (Glycoprotein)  ซึ่งประกอบด้วยไฮดรอกซีโพรลีนเป็นส่วนใหญ่   (Hydroxyproline)   โดยเกาะกับโพลีแซคคาไรด์แบบ Non Covalent bond
5.    น้ำ เป็นส่วนประกอบที่พบในส่วนของเพคตินที่มีลักษณะเป็นวุ้น  (Gel) และยังทำหน้าที่ลดปริมาณของไฮโดรเจนบอนด์ที่เกาะกันระหว่างไฟบริลและเฮมิเซลลูโลส ดังนั้นเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงปริมาณน้ำจะทำให้การติดกันของไฟบริลกับเฮมิเซลลูโลสเปลี่ยนไปและน้ำยังเป็นตัวทำละลายสารเคมีในผนังเซลล์ด้วย โดยเฉพาะขณะที่เซลล์ขยายตัว
6.    ส่วนที่หุ้มห่อภายนอก (Incrusting Substances) สิ่งที่หุ้มห่อข้างนอกของผนังเซลล์ของเซลล์ผิว (Epidermis) จะเป็นสารพวกคิวติเคิล (Cuticle) เพื่อช่วยลดการสูญเสียน้ำ หรือรับน้ำเพิ่มมากขึ้นและยังป้องกันอันตรายจากสารเคมีและเชื้อจุลินทรีย์ได้ด้วย นอกจากนั้นยังมีสารประกอบอนินทรีย์บางชนิดพบในผนังเซลล์ของพืชบางชนิด สารเหล่านี้ เช่น แคลเซียมคาร์บอเนตและแคลเซียมซิลิเกต เป็นต้น
สามารถแบ่งผนังเซลล์ออกได้ เป็น 3 ชนิด ด้วยกันคือ
1.     ผนังเซลล์ชั้นที่หนึ่งหรือผนังเซลล์ปฐมภูมิ (Primary Cell Wall) เกิดขึ้นหลังจากที่เซลล์หยุดการขยายตัวแล้ว จะทำหน้าที่หุ้มห่อเยื่อหุ้มเซลล์อยู่อีกทีหนึ่ง
2.     ผนังเซลล์ชั้นที่สองหรือผนังเซลล์ทุติยภูมิ (Secondary Cell Wall) คือผนังเซลล์ที่อยู่ระหว่างผนังชั้นที่หนึ่ง และเยื่อหุ้มเซลล์ ประกอบด้วยเซลลูโลสและลิกนินเป็นส่วนใหญ่
3.     มิดเดิลลาเมลลา คือส่วนที่เป็นผนังร่วมของเซลล์สองเซลล์ที่อยู่ติดกันเป็นส่วนของผนังเซลล์ที่เกิดขึ้นในขณะที่เซลล์แบ่งเป็นสองเซลล์ทำหน้าที่เป็นตัวเชื่อมเซลล์สองเซลล์ให้ติดกันประกอบด้วยสารเพคติน