เอ็นโดพลาสมิกเรติคิวลัมแบบขรุขระ หรือ เอนโดพลาสมิกเรติคูลัมชนิดขรุขระ
( Rough endoplasmic
reticulum )
มีโครงสร้างเป็นท่อ
ที่ผิวด้านนอกของเยื่อหุ้มมีไรโบโซมมาเกาะ
เยื่อหุ้มชั้นในบางส่วนพองออกเป็นซิสเทอร์นี จำนวนซิสเทอร์นีแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับหน้าที่ของเซลล์หรือสภาวะการเจริญของเซลล์
โดยเฉพาะในเซลล์ที่ทำหน้าที่สังเคราะห์โปรตีนจะพบมากเป็นพิเศษ เช่น เซลล์ตับ
หน้าที่ของ RER
1.
ลำเลียงสารไปยังส่วนต่างๆของเซลล์
1.1
การลำเลียงสารพวกไขมัน จากการทดลองนำหนูที่อดอาหารมาให้น้ำมันจากข้าวโพด
โดยอนุภาคของน้ำมันจะถูกดูดซึมที่ลำไส้เล็ก
หลังจากนั้นอีกหลายชั่วโมงจึงพบว่าไขมันแพร่กระจายอยู่ใน RER และ SER รวมถึง Golgi body ด้วย
แสดงให้เห็นว่าการลำเลียงสาร เกิดจาก ER ไปยัง Golgi
body
1.2
การลำเลียงสารพวกโปรตีน มีโปรตีนหลายชนิดที่ได้จากการสังเคราะห์ของ RER
แล้วส่งไปเก็บไว้ที่ซิสเทอร์นี แล้วส่งผ่านไปสะสมไว้ในกระเปาะของ SER
แล้วจะถูกส่งไปที่ Golgi body เพื่อส่งออกนอกเซลล์ต่อไป
2.
สังเคราะห์โปรตีน
การสังเคราะห์โปรตีนจะเริ่มจากมีไรโบโซมมาเกาะที่ผิวด้านนอกของเยื่อหุ้มของ
ER
แล้วเกิดกระบวนการถอดรหัส ( translation ) ซึ่งจะกลายเป็นสายโปรตีนภายใน
ช่องว่าง ( lumen ) ของ RER โปรตีนจะถูกส่งผ่านไปยังซิสเทอร์นีแล้วถูกส่งเป็น
transport vesicle ซึ่งนำไปปรับแต่งที่ Golgi body ต่อไป
โดยทั่วไปแล้วการสังเคราะห์โปรตีนของเอนโดพลาสมิกเรติคูลัมชนิดขรุขระ
จะต่างจาก ไรโบโซมอิสระ ( free
ribosome ) ทั้งนี้เพราะโปรตีนที่สร้างจากไรโบโซมอิสระจะถูกเก็บไว้ใช้ภายในเซลล์แต่โปรตีนที่ได้จากเอนโดพลาสมิกเรติคูลัมชนิดขรุขระ
จะถูกส่งออกไปใช้ภายนอกเซลล์
3.
การสังเคราะห์ ไตรกลีเซอไรด์ ( triglyceride )
หลังจากที่มีการดูดซึมไขมันของเซลล์ที่อยู่บริเวณลำไส้เล็กจะมีการเปลี่ยนกลีเซอไรด์
( glyceride
) ให้เป็นไตรกลีเซอไรด์ ( triglyceride ) อย่างรวดเร็วใน
ER ทั้งสองชนิด
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น